Print this page

วิสัยทัศน์-พันธกิจ

     เทศบาลตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีนายกเทศมนตรีตำบลธาตุ เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต ของ เทศบาลตำบลธาตุ ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)

     วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง เพื่อแสดงถานการณ์ในอุดมคติ

“โครงสร้างพื้นฐาน บริการด้วยกัลยาณมิตร ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่สาสาธารณูปโภคครบถ้วน ชุมชนมีส่วนร่วมการพัฒนา ประชาเป็นสุข”

พันธกิจ (Mission)

     พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)

  1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตและเศรษฐกิจของท้องถิ่น
  2. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัว และชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
  3. การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผนพัฒนา การตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการปกครอง
  4. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษาและสาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
  5. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและการบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดี
  6. การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการด้านการท่องเที่ยว และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  7. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร โดยการปรับปรุงกระบวนการบริหารการเงินการคลังให้สอดรับกับอำนาจหน้าที่และภารกิจที่มีอยู่เดิม และที่ได้รับโอนจากการกระจายอำนาจจากรัฐบาล
  8. การเพิ่มศักยภาพของผังเมืองให้เป็นเครื่องมือชี้นำและสนับสนุนการพัฒนาเมืองอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาด้านอื่นๆ

 

เป้าประสงค์ (goal)

  1. การคมนาคมสะดวก
  2. ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพียงพอและทั่วถึง
  3. การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ตามแนวธรรมาภิบาล
  4. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
  5. ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
  6. ส่งเสริมการศึกษา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
  7. ประชาชนมีสุขภาพดี
  8. พัฒนาและจัดการด้านการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  9. จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เกิดมลพิษและมีความยั่งยืน
  10. ชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  11. ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุได้รับการดูแล